จุดกำเนิดของ 5 ส.
การเกิดขึ้นของ
5 ส.
ในญี่ปุ่นไม่ได้เกิดเป็น 5 ส.
ในรูปแบบที่ชัดเจนแต่พัฒนามาจากแนวคิดในเรื่องการควบคุมคุณภาพ (Quality
Control : QC)กล่าวคือญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาที่เข้ายึดครองญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้มีการักษาคุณภาพของชิ้นส่วนอุปกรณ์
โทรคมนาคมที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นเพราะขณะนั้นสินค้าของญี่ปุ่นด้อยคุณภาพมากจากปัญหาดังกล่าวนี่เองทางอเมริกาจึงส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูแลและให้ความรู้ส่งให้ญี่ปุ่นกลับมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของตัวเองทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านบุคคลากรในที่สุด
5ส.เข้ามาสู่ประเทศไทยได้อย่างไร สำหรับประเทศไทยนั้น บริษัทเอ็นเอชเค สปริง (ประเทศไทย)
จำกัดเป็นบริษัทแห่งแรกที่นำกิจกรรม 5 ส. มาใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2522 จากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2526
บริษัทสยามคูโบต้า
อุตสาหกรรมจำกัด(กลุ่มบริษัทในเครือซีเมนต์ไทย)ได้นำ5ส.มาดำเนินการในโรงแรมและเผยแพร่ความรู้นี้ให้กับบริษัทที่สนใจ
ความหมายโดยรวมคือการจัดระเบียบและปรับปรุงที่ทำงานสถานประกอบกิจการและงานของตนด้วยตนเองเพื่อก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
ปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
หรืออีกนัยหนึ่งกระบวนการในการจัดสถานที่ทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยมุ่งเน้นที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการทำงานและจิตสำนึกในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน
5 ส
มาจากคำย่อ “5 S” ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกในภาษาญี่ปุ่น
5 คำคือ
1.การแยกแยะสิ่งของต่างๆ
ให้ชัดเจน คือ “สะสาง”
2. การจัดหมวดหมู่สิ่งของให้ง่ายต่อการใช้ คือ “สะดวก”
3. การรักษาความ “สะอาด” สิ่งของเครื่องใช้ของตนเองอย่างทั่วถึง
4. หมั่นทำ 3 ประการแรก โดยยึดถือหลัก “สุขลักษณะ” เป็นสำคัญ
5. ทำกิจกรรมทั้งหมดอย่างต่อเนื่องจนเคยชิน กลายเป็นการ “สร้างนิสัย” ให้มีระเบียบวินัย
2. การจัดหมวดหมู่สิ่งของให้ง่ายต่อการใช้ คือ “สะดวก”
3. การรักษาความ “สะอาด” สิ่งของเครื่องใช้ของตนเองอย่างทั่วถึง
4. หมั่นทำ 3 ประการแรก โดยยึดถือหลัก “สุขลักษณะ” เป็นสำคัญ
5. ทำกิจกรรมทั้งหมดอย่างต่อเนื่องจนเคยชิน กลายเป็นการ “สร้างนิสัย” ให้มีระเบียบวินัย
5 ส.ใช้เพื่อ
1. 5 ส.เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2. 5
ส.เป็นรากแก้วและเป็นพื้นฐานของระบบคุณภาพและผลผลิต
3.5 ส.เป็นเรื่องเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ
4. 5 ส.นำไปสู่เรื่อง
ISO TPM TQM
ประโยชน์ของ 5 ส.
1.ประโยชน์ต่อตนเอง 2.ประโยชน์ต่อเพื่อนพนักงาน 3.ประโยชน์ต่อองค์กร 4.ประโยชน์ต่อสังคม 5.สิ่งแวดล้อม 1.การทำ 5 ส.ก็มักจะบ่นว่าเป็นเรื่องจุกจิกบ้าง
เสียเวลาทำงานบ้าง
บางคนถึงขนาดบอกว่าของที่วาง(สุมๆ)อยู่บนโต๊ะดีๆ มาให้ย้ายให้เปลี่ยน
เวลาจะหยิบใช้เลยหาไม่เจอซึ่งบรรดาพนักงานที่บ่นอย่างนั้นแสดงว่า ยังเข้าใจ 5 ส.
อย่างเผินๆเข้าใจว่า 5 ส. คือการจัด “โต๊ะทำงาน”เท่านั้น
2.พนักงานเต็มใจหรือพร้อมที่จะทำ
5 ส. แต่กลับลงมือทำ 5 ส.กันอย่างผิดทางการที่หน่วยงานอ้างว่าทำกิจกรรม 5 ส ไม่ได้
เพราะไม่มีงบประมาณนั้นแสดงให้เห็นว่ายังไม่เข้าใจกิจกรรม 5 ส.
เพราะหลักของ 5 ส.คือต้องใช้ของเก่าให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
3.ที่ต้องระวังและต้องสร้างความเข้าใจคือพวกพนักงานที่“ขี้เกียจ” โดยเฉพาะไม่อยากมานั่งสะสาง
พวกนี้จะใช้วิธีทิ้งหมดทุกอย่างเพื่อให้เสร็จเร็ว
ของที่ใช้หรือของที่จำเป็นจะถูกโยนลงถังโดยไม่รู้ตัวตรงนี้จึงต้องกำชับว่า การทำ 5 ส.ไม่ได้มีเป้าหมายคือก้มหน้าก้มตาทิ้งแต่เพียงอย่างเดียวแต่คือการคัดการแยกหาของที่จำเป็นกับไม่จำเป็นถ้าคุณทิ้งโดยไม่คิดผลเสียจะตามมาภายหลัง
1.กำหนดนโยบาย 2.จัดตั้งคณะกรรมการ 3.จัดทำแผนดำเนินการ 4.แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ 5.เริ่มดำเนินการด้วย Big Cleaning Day 6.ปฏิบัติการตามแผน 5ส 7.ตรวจพื้นที่เพื่อแก้ไขปรับปรุงโดยสมาชิกภายในพื้นที่เอง
8.คณะกรรมการตรวจสอบและประเมิน5ส 9. ตั้งเป็นมาตรฐาน 10.รักษาไว้และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น