วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ขั้นที่ 22 Corporate Social Responsibility

Corporate Social Responsibility (CSR)

1. แนวคิด CSR
-    การประกอบธุรกิจโดยยึดหลักศีลธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล - มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
    การปฎิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรอย่างมีคุณธรรม - การเข้าร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
    การเคารพสิทธิและปฎิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม - การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
    การส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาตนเอง - การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
   
    2. เรื่องมือนี้คืออะไร/ มีองค์ประกอบอะไร
Corporate Social Responsibility (CSR) คือ การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
CSR ใช้เพื่อการจัดองค์กร (Organizing) โดยมุ่งการสร้างองค์กรให้มีความ ดีและทำให้องค์กรเกิดความยั่งยืน บนพื้นฐาน 3 มิติ คือ
1. Social
2. Environment
3. Economic

4. ข้อดี-ข้อเสียของเครื่องมือ

ข้อดี :
1. กลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคม (ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่ค้า คู่แข่ง รัฐบาล สื่อมวลชน ประชาชน) ให้การยอมรับ
2. เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่องค์กร
3. สร้างจุดแข็งทางการตลาด สร้างภาพลักษณ์ ชื่อเสียงให้แก่องค์กร
4. สามารถดึงดูด รักษา พนักงานที่มีคุณภาพให้อยู่กับองค์กรได้นาน
5. สื่อมวลชนให้ความร่วมมือในการนำเสนอข่าวสารด้าน CSR
6. สร้างแรงดึงดูดใจให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน และนักการเงิน
7. องค์กรจะได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนแม้เกิดภาวะวิกฤต
8. เพิ่มยอดขายและสัดส่วนทางการตลาดให้แก่องค์กร

ข้อเสีย :
1. ขาดความเข้าใจมองว่า CSR เป็นหน้าที่ของรัฐไม่ใช่องค์กรธุรกิจ
2. การทำ CSR ไม่เต็มที่ ทำเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้ไม่เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
3. การทำ CSR ที่มีความหลากหลายประเด็น ไม่ลงลึก ทำให้ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
4. ผู้บริหารไม่สนับสนุน มองว่าทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ไม่แน่ใจผลที่จะเกิดขึ้น

5. ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1.ควรเริ่มกิจกรรม CSR จากภายในสู่ภายนอก (inside-out)
2.ควรปลูกฝังค่านิยมเรื่องของการช่วยเหลือ การแบ่งปัน ความรับผิดชอบ ให้แก่พนักงานในองค์กร
3.สร้างทีมงาน CSR ประกอบด้วยบุคลากรจากหลายฝ่ายช่วยกัน
4.เขียนแผนงานด้าน CSR อย่างเป็นขั้นตอน พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบโดยตรง สามารถติดตามประเมินผลได้
5.วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสขององค์กร เพื่อหาประเด็นทำ CSR
6.ควรสร้างประเด็น CSR ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจ
7.สร้างกิจกรรม CSR กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆขององค์กร
8.ระบุให้ชัดเจนว่ากิจกรรมนั้นมุ่ง target กลุ่มไหน
9.กำหนดวัตถุประสงค์ของการทำ CSR ให้ชัดเจนและแจ้งให้พนักงานทราบเพื่อให้ได้ความร่วมมือ
10.ต้องเข้าใจแนวคิด CSR เข้าใจแก่น และเน้นทำ CSR แบบยั่งยืนและต่อเนื่อง
11.ไม่ควรคิดทำ CSR เพียงเพื่อต่อยอด สร้างแบรนด์เท่านั้น
12.ควรทำ CSR ในเชิงรุก (ไม่ใช่รอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ไข)

6.-7. มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร /กรณีศึกษา
1. แผนยุทธศาสตร์การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (การกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553-2557)
2. บริษัท บาร์ธรูม ดีไซด์ จำกัด (www.bathroomtomorrow.com)
3. บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย ( SCC) (http://www.siamcement.com)
4. บมจ.บางจากปิโตรเลียม ( BCP) (http://www.bangchak.co.th)
5. บมจ.ปตท.( PTT) (http://www.pttplc.com)
6. บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) (http://www.kasikornbank.com)
7. http://horizon.spu.ac.th/ipac20/ipac.jsp?session=13AA821M13890.68927



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น