วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ขั้นที่ 13 Strategic Matrix


Strategic Matrix

 

1.หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา

         ในการกำหนดกลยุทธ์นั้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นการกำหนด        กลยุทธ์ในระดับใด ได้แก่ กลยุทธ์ในระดับองค์การ กลยุทธ์ในระดับธุรกิจ และกลยุทธ์ในระดับปฏิบัติการ ซึ่งจะมีรายละเอียดและขอบเขตการดำเนินงานแตกต่างกัน โดยขั้นตอนในการกำหนดกลยุทธ์ในแต่ละระดับจะเหมือนกันคือ 1) พิจารณาปัจจัยนำเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ ได้แก่ปัจจัยแวดล้อมภายในและภายนอก และ 2) การจับคู่ปัจจัยเพื่อใช้เพื่อนำไปใช้เป็นทางเลือกในการกำหนดกลยุทธ์ สำหรับเทคนิคในการกำหนดกลยุทธ์ในแต่ละระดับนั้นมีความแตกต่างกัน ผู้บริหารจะต้องพิจารณาเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่

 

2. เครื่องมือนี้คืออะไรมีองค์ประกอบอะไร

เครื่องมือนี้คือ เทคนิคในการกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งมีรูปแบบและการใช้ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ

สภาวะแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะนำมาซึ่งความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการแข่งขัน, สภาวะแวดล้อมภายนอกองค์กร ที่จะนำมาซึ่งการสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคในการแข่งขัน, ผลประกอบการในด้านต่างๆ และวัตถุประสงค์หรือความต้องการขององค์กร

3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
เครื่องมือนี้ใช้เพื่อเป็นทางเลือกในการกำหนดกลยุทธ์ โดยแบ่งเป็น

  • กลยุทธ์ระดับองค์กร หรือ กลยุทธ์ระดับบริษัท Strategy matrix ที่ใช้ควรจะเป็นเพื่อการหาจุดเด่น และระบุตำแหน่งในการแข่งขันเพื่อกำหนดทิศทางแก่องค์กร
  • กลยุทธ์ระดับธุรกิจ Strategy matrix ที่ใช้ควรจะเป็นเพื่อการลงทุนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพให้สูงสุดในทุกๆ ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือโครงการต่างตามสถานการณ์ที่ธุรกิจหรือหน่วยธุรกิจเป็นอยู่ ณ ขณะนั้น
  • กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ แนวทางการสร้างกลยุทธ์ในระดับนี้จะเกิดขึ้นหลังจากกำหนด matrix ใน 2 ระดับแรกแล้ว เพราะจะทราบถึงแนวทางที่บริษัทต้องการแล้วนำมาผสมกับความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้เพื่อกำหนดหน้าที่ในแต่ละตำแหน่งงานว่าควรจะกระทำสิ่งใดบ้าง

4. ข้อดี-ข้อเสียของเครื่องมือ
ข้อดี
สามารถเป็นเครื่องมือที่ดีและมีประสิทธิภาพในการกำหนดกลยุทธ์ ในทุกระดับด้วยรูปแบบการนำไปใช้ที่หลากหลายสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกสถานการณ์


ข้อเสีย
/ข้อควรระวัง ในการใช้ Strategy matrix นั้นมีข้อพึงระวังที่สุดคือการ การกำหนด SWOT ต้องมั่นใจว่าทำได้โดยชัดเจน และครอบคลุมเพราะพื้นฐานในการสร้าง Matrix เกือบทุก Matrix นั้นมาจาก SWOT ส่วนอีกประเด็นหนึ่ง คือ การเลือกใช้ Matrix ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และวัตถุประสงค์ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงว่าแต่ละ Matrix นั้นมีข้อจำกัด และจุดเด่นที่แตกต่างกัน

5. ใช้อย่างไร(หรือจัดทำอย่างไร)

          มี Matrix ที่น่าสนใจมากมายในการให้เลือกใช้ แต่จะขอยกตัวอย่าง บาง Matrix ที่เป็นที่นิยม และมีความต่อเนื่องกันทั้งในการกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร และ ระดับธุรกิจ คือ BCG grow share matrix และ GE matrix

ขั้นตอนการสร้าง BCG grow share matrix เป็นดังนี้

การประยุกต์ใช้ BCG grow share matrix นั้นเพื่อต้องทราบถึงสถานการณ์ในการแข่งขันตลอดจนรูปแบบของกลยุทธ์ที่ควรใช้ ที่เน้นไปในด้านของอัตราการเจริญเติบโตของตลาด และ ส่วนแบ่งทางการตลาดที่ข่อนข้างชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการครองตลาดตามเป้าหมายของธุรกิจ

ขั้นตอนการสร้าง GE matrix เป็นดังนี้


การประยุกต์ ใช้ GE matrix นั้น ใช้ปัจจัยภายในและภายนอก (SWOT) มาสร้างความสัมพันธ์ในการลงกราฟโดย แกนXปัจจัยภายใน และแกนYปัจจัยภายนอก สำหรับปัจจัยต่างๆ ของ GE จะหนักไปทางภาคอุตสาหกรรมซึ่งตรงจุดนี้ซึ่งจะมีประโยชน์มากถ้าหากใช้ประเมินในรูปของกลุ่มธุรกิจ เพื่อความมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจเลือกลงทุน หรือหากจะใช้ในรูปแบบธุรกิจเดี่ยวก็สามารถทำได้

 6. มีใครนำเครื่องมือไปใช้บ้าง และได้ผลสรุปอย่างไร
Strategic Matrix
สามารถใช้ได้กับทุกองค์กร อยู่ที่การเลือกรูปแบบ Matrix ให้เหมาะสม เช่น

1.ยุทธศาสตร์การแข่งขันกล้วยไม้ไทยในตลาดโลก พ.. 2554-2559
ผลที่ได้คือ แผนผังกลยุทธ์ และ Strategy map ของการแข่งขันกล้วยไม้ไทยในตลาดโลก พ.. 2554-2559
2.การเพิ่มยอดขายให้กับโรงงานน้าปลาทิพย์ระยอง
ผลที่ได้คือ แผนกลยุทธ์ในทุกระดับ

7. กรณีศึกษา
1.ยุทธศาสตร์การแข่งขันกล้วยไม้ไทยในตลาดโลก พ.. 2554-2559
(www.agriman.doae.go.th/home/agri1/.../06_orchid2554-2559.pdf)
2.
การเพิ่มยอดขายให้กับโรงงานน้าปลาทิพย์ระยอง
(www.agriman.doae.go.th/home/agri1/.../06_orchid2554-2559.pdf)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น