วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขั้นที่ 2 Steps of strategic planning process


ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Steps of Strategic Planning Process)

มี 6 ขั้นตอน สำหรับกระบวนการการวางแผน ดังที่แสดงในรูปที่ 2 ละคำอธิบาย

1.         วิสัยทัศน์ในการกำหนดองค์กร (Formuulating Organization’s Mission)

โดยธรรมชาติของธุรกิจมักจะแสดงให้เห็นในลักษณะของวิสัยยทัศน์บริษัท รวมไปถึงวัตถุประสงค์ของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น กาออกแบบ พัฒนา การผลิตและตลาดที่ระบุ Product Lines สำหรับการขายตามรูปแบบที่แน่นอน เพื่อให้ตรงกับความต้องการกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยทางช่องทางจัดจำหน่ายที่เหมาะสมตามพื้นที่ภูมิภาค

(Hosseine-Nasab, 2011) ส่วนวิสัยทัศน์ของทุกองค์กรก็จะเป็นเหตุผลหลักสำหรับการสร้างและก่อตั้งองค์กรและเป็นตัวแทนของปรัชญาที่คงอยู่ขององค์กร (Rezaian, 2008) วิสัยทัศน์ขององค์กรจะเป็นตัวตัดสินวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่สำคัญในอนาคตขององค์กร ดังนั้นวิสัยทัศน์เป็นวัตถุประสงค์พื้นฐานที่เป็นเอกลักษณ์ที่จะแบ่งแยกองค์กรออกจากองค์กรอื่นๆและเป็นตัวตัดสินขอบเขตของการปฏิบัติการของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและการตลาด พื้นฐานของแต่ละวิสัยทัศน์ควรจะทำให้เสร็จในแนวทางของคุณค่าและกลยุทธ์การตัดสินใจทางการตลาดและความพึงพอใจก็จะตามมา (Pearce&Robinson,2009)
  



                                                                                                                         Source: (Rezaian, 2008).

Fig 2 : Steps of strategic planning process

 

ถ้าหากผู้จัดการได้กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรไว้แน่ชัดแล้ว ก็สามารถเลือกและใช้กลยุทธ์เพื่อนำไปสู่การคงอยู่และความเป็นหนึ่งเดียวของเหล่าสมาชิกขององค์กร (Rezaian,2008)
 
2.         การตั้งเป้าหมาย (เป้าหมายหลักและเจาะจง) Goal Setting (Main and Specific)
หลังจากได้กำหนดวิสัยทัศน์องค์กรแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือจะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ในขั้นตอนนี้ การทำให้ชัดเจนและการให้เป้าหมายที่ระบุช่วงเวลาที่แน่ชัดจึงถูกระบุขึ้นเพื่อให้เป็นแนวทางให้บรรลุเป้าหมายและเข้าใจวิสัยทัศน์องค์กร พึงระลึกไว้ที่เป้าหมายนี้จะถูกใช้เป็นพื้นฐานของการวางแผน นโยบายการตลาดและการจัดตั้งมาตรฐานการวัดผล และให้พนักงานนำไปปฏิบัติในองค์กรได้ (Rezaian,2008) ดังนั้นแล้วส่วนสำคัญของกระบวนการการวางแผนก็จะอยู่ในตามเข้าใจที่จะทำอย่างไรเพื่อให้วัตถุประสงค์นโยบายและแผนการเข้ากันได้อย่างลงตัว (Papke-Shields et al, 2006)
3.         การประเมินค่าของทรัพยากรองค์กรโอกาส สภาพแวดล้อมและอุปสรรค (Evaluation of Organization Resources & Environmental Opproturities and Threats )
ขั้นตอนต่อไปของการวางแผนกลยุทธ์ ก็คือ การระบุจุดอ่อน จุดแข่ง ขององค์กรเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆและระบุความเสี่ยงและอุปสรรคเปรียบเทียบกับโอกาสที่เป็นไปได้ ในความเป็นจริงแล้ว กลยุทธ์ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพจะมีผลกระทบจากปัจจัยที่เกิดขึ้นในสภาพภายในและสภาพภายนอกขององค์กร เมื่อมีแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับเลือกให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ที่เรียกว่าเทคนิค “SWOT” ที่คิดค้นจาก Anderson ในปี 1980 เทคนิคนี้จะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ (Rezaian, 2008)
               SWOT เป็นชื่อย่อมาจากจุดอ่อน จุดแข็ง ภายในองค์กรหรือบริษัทและโอกาส อุปสรรค จากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง เป็นการระบุอย่างเป็นขั้นตอนจากปัจจัยและกลยุทธ์ต่างๆ ที่จะสะท้อนให้เห็นจากการรวมกันอย่างดีของปัจจัยเหล่านี้ การวิเคราะห์นี้จะขึ้นอยู่กับความเป็นเหตุเป็นผลที่ส่งผลต่อกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งจุดแข็งและโอกาส ในขณะที่ลดจุดอ่อนและอุปสรรคของมัน (Pearce & Robinson, 2009)
4.          การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy formulation)
เป็นสิ่งที่องค์กร หรือกิจการ กำหนดขึ้นเพื่อสร้างเครื่องมือ แผนการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์หรือเป้าหมาย ในการกำหนดกลยุทธ์นั้นต้องสอดคล้องกับความสามารถขององค์กร ควรกำหนดให้ทีความท้าทายและตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกองค์กร
5.         การดำเนินการหรือปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy implementation through operational program)
เป็นการนำกลยุทธ์ หรือแผนงานที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 4 มาปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กร การดำเนินงานตามแผนดังกล่าวอาจส่งผลดีหรือผลเสียต่อองค์กร ขึ้นอยู่กับการร่วมแรงรวมใจของบุคลากร การสื่อสาร หรือสิ่งสนับสนุนต่างๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินงาน
6.         การประเมินผลกลยุทธ์ (Evaluating and choosing alternative strategy)
เป็นขั้นตอนการประเมินและติดตามผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่องค์กร หรือกิจการกำหนด ว่าบรรลุตามเป้าหมายตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนปัญหา หรืออุปสรรค์ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน และนำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับปรุง ในการกำหนดทิศทางหรือการจัดทำแผนขององค์กรต่อไป

 

              

 

 

 


 
 
 
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น