วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขั้นที่ 4 QSPM : Quantitative Strategic Matrix


                                                                                                   Source : (David, 2003)

                                                   Fig. 4 : QSPM : Quantitative Strategic Matrix      

การใช้กลยุทธ์ให้เกิดผล (Strategy Implementation)

           หลังจากกำหนดกลยุทธ์แล้วมักจะมีการกำหนดโปรแแกรมตามมา การกำหนดกลยุทธ์ที่ดีต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ สำหรับการนำกลยุทธ์ไปใช้ให้เกิดผลควรทำตามเครื่องมือดังต่อไปนี้

          - โครงสร้างองค์กรควรมีอยู่ในกลยุทธ์
          - ความร่วมมือทางด้านทักษะ ทรัพยากร และความสามารถองค์กรควรอยู่ในระดับสำคัญ
          - ออกแบบวัฒนธรรมองค์กรให้อยู่ในกลยุทธ์ใหม่ขององค์กรด้วย
          - ความร่วมมือและเห็นอกเห็นใจของผู้จัดการและลูกจ้างของแต่ละแผนกและหน่วยงานขององค์กร (Rezaian, 2008)

ขั้นที่ 3 The five competitive forces that shape strategy.

                                                                                                                                                                        Source: (Porter, 2008).
Fig 3 : The five competitive forces that shape strategy. 

 

หลังจากองค์กร/ธุรกิจ ทำการวิเคราห์ ประเมินผลสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกธุรกิจ การกำหนดทางเลือก กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กร สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน สาระสำคัญของการกำหนดกลยุทธ์คือ จะต้องกำหนดกิจกรรมให้ครอบคลุมในส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตขององค์กร/ธุรกิจ

 

การประเมินสภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญ 5 ประการ ดังนี้

1.         อำนาจของผู้ซื้อ (Buyer Power) : ใครเป็นผู้ซื้อในตลาด หากมีผู้ซื้อหลายรายและเราเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ ก็ย่อมมีอำนาจในการต่อรองราคาได้

2.         อำนาจของผู้ขาย (Seller Power) : มีใครบ้างที่เป็นผู้ขายในตลาด หากมีผู้ขายเพียงรายเดียว เราย่อมเสีย เปรียบ แต่ถ้ามีผู้ขายหลายรานเราก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกผู้ขาย และสามารถต่อรองราคาได้

3.         สินค้าทดแทน (Substitution) : การซื้อสินค้า หากมีสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ ส่งผลให้เกิดอำนาจต่อรองทันที สามารถเลือซื้อสินค้าที่มีราคาถูกว่ามาใช้ทดแทนกันได้ ช่วยลดต้นทุนการผลิต

4.         คู่แข่งขัน (Rivarly) : ดูว่าคู่แข่งขันของเรามีจำนวนมากน้อยเพียงไร หากมีน้อยเราย่อมได้เปรียบ เพราะยังไงผู้ขายก็ต้องขายสินค้าให้กับเรา

5.         อุปสรรค์ของคู่แข่งขันรายใหม่ (Entry Barriers) : การวิเคราะห์ว่าธุรกิจที่เราทำอยู่นั้นมีโอกาสที่จะเกิดคู่แข่งขันรายใหม่หรือไม่ เพราะหากมีนั่นหมายถึงอำนาจในการตจ่อรองที่เรามีอยู่อาจลดลง

 

ขั้นที่ 2 Steps of strategic planning process


ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Steps of Strategic Planning Process)

มี 6 ขั้นตอน สำหรับกระบวนการการวางแผน ดังที่แสดงในรูปที่ 2 ละคำอธิบาย

1.         วิสัยทัศน์ในการกำหนดองค์กร (Formuulating Organization’s Mission)

โดยธรรมชาติของธุรกิจมักจะแสดงให้เห็นในลักษณะของวิสัยยทัศน์บริษัท รวมไปถึงวัตถุประสงค์ของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น กาออกแบบ พัฒนา การผลิตและตลาดที่ระบุ Product Lines สำหรับการขายตามรูปแบบที่แน่นอน เพื่อให้ตรงกับความต้องการกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยทางช่องทางจัดจำหน่ายที่เหมาะสมตามพื้นที่ภูมิภาค

(Hosseine-Nasab, 2011) ส่วนวิสัยทัศน์ของทุกองค์กรก็จะเป็นเหตุผลหลักสำหรับการสร้างและก่อตั้งองค์กรและเป็นตัวแทนของปรัชญาที่คงอยู่ขององค์กร (Rezaian, 2008) วิสัยทัศน์ขององค์กรจะเป็นตัวตัดสินวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่สำคัญในอนาคตขององค์กร ดังนั้นวิสัยทัศน์เป็นวัตถุประสงค์พื้นฐานที่เป็นเอกลักษณ์ที่จะแบ่งแยกองค์กรออกจากองค์กรอื่นๆและเป็นตัวตัดสินขอบเขตของการปฏิบัติการของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและการตลาด พื้นฐานของแต่ละวิสัยทัศน์ควรจะทำให้เสร็จในแนวทางของคุณค่าและกลยุทธ์การตัดสินใจทางการตลาดและความพึงพอใจก็จะตามมา (Pearce&Robinson,2009)
  



                                                                                                                         Source: (Rezaian, 2008).

Fig 2 : Steps of strategic planning process

 

ถ้าหากผู้จัดการได้กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรไว้แน่ชัดแล้ว ก็สามารถเลือกและใช้กลยุทธ์เพื่อนำไปสู่การคงอยู่และความเป็นหนึ่งเดียวของเหล่าสมาชิกขององค์กร (Rezaian,2008)
 
2.         การตั้งเป้าหมาย (เป้าหมายหลักและเจาะจง) Goal Setting (Main and Specific)
หลังจากได้กำหนดวิสัยทัศน์องค์กรแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือจะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ในขั้นตอนนี้ การทำให้ชัดเจนและการให้เป้าหมายที่ระบุช่วงเวลาที่แน่ชัดจึงถูกระบุขึ้นเพื่อให้เป็นแนวทางให้บรรลุเป้าหมายและเข้าใจวิสัยทัศน์องค์กร พึงระลึกไว้ที่เป้าหมายนี้จะถูกใช้เป็นพื้นฐานของการวางแผน นโยบายการตลาดและการจัดตั้งมาตรฐานการวัดผล และให้พนักงานนำไปปฏิบัติในองค์กรได้ (Rezaian,2008) ดังนั้นแล้วส่วนสำคัญของกระบวนการการวางแผนก็จะอยู่ในตามเข้าใจที่จะทำอย่างไรเพื่อให้วัตถุประสงค์นโยบายและแผนการเข้ากันได้อย่างลงตัว (Papke-Shields et al, 2006)
3.         การประเมินค่าของทรัพยากรองค์กรโอกาส สภาพแวดล้อมและอุปสรรค (Evaluation of Organization Resources & Environmental Opproturities and Threats )
ขั้นตอนต่อไปของการวางแผนกลยุทธ์ ก็คือ การระบุจุดอ่อน จุดแข่ง ขององค์กรเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆและระบุความเสี่ยงและอุปสรรคเปรียบเทียบกับโอกาสที่เป็นไปได้ ในความเป็นจริงแล้ว กลยุทธ์ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพจะมีผลกระทบจากปัจจัยที่เกิดขึ้นในสภาพภายในและสภาพภายนอกขององค์กร เมื่อมีแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับเลือกให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ที่เรียกว่าเทคนิค “SWOT” ที่คิดค้นจาก Anderson ในปี 1980 เทคนิคนี้จะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ (Rezaian, 2008)
               SWOT เป็นชื่อย่อมาจากจุดอ่อน จุดแข็ง ภายในองค์กรหรือบริษัทและโอกาส อุปสรรค จากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง เป็นการระบุอย่างเป็นขั้นตอนจากปัจจัยและกลยุทธ์ต่างๆ ที่จะสะท้อนให้เห็นจากการรวมกันอย่างดีของปัจจัยเหล่านี้ การวิเคราะห์นี้จะขึ้นอยู่กับความเป็นเหตุเป็นผลที่ส่งผลต่อกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งจุดแข็งและโอกาส ในขณะที่ลดจุดอ่อนและอุปสรรคของมัน (Pearce & Robinson, 2009)
4.          การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy formulation)
เป็นสิ่งที่องค์กร หรือกิจการ กำหนดขึ้นเพื่อสร้างเครื่องมือ แผนการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์หรือเป้าหมาย ในการกำหนดกลยุทธ์นั้นต้องสอดคล้องกับความสามารถขององค์กร ควรกำหนดให้ทีความท้าทายและตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกองค์กร
5.         การดำเนินการหรือปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy implementation through operational program)
เป็นการนำกลยุทธ์ หรือแผนงานที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 4 มาปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กร การดำเนินงานตามแผนดังกล่าวอาจส่งผลดีหรือผลเสียต่อองค์กร ขึ้นอยู่กับการร่วมแรงรวมใจของบุคลากร การสื่อสาร หรือสิ่งสนับสนุนต่างๆ ที่เอื้อต่อการดำเนินงาน
6.         การประเมินผลกลยุทธ์ (Evaluating and choosing alternative strategy)
เป็นขั้นตอนการประเมินและติดตามผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่องค์กร หรือกิจการกำหนด ว่าบรรลุตามเป้าหมายตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ ตลอดจนปัญหา หรืออุปสรรค์ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน และนำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับปรุง ในการกำหนดทิศทางหรือการจัดทำแผนขององค์กรต่อไป